การทำโรงงานขนาดเล็กสำหรับอุตสาหกรรมผลิตอาหารต้องรู้อะไรบ้าง

องค์ประกอบของโรงงานขนาดเล็กสำหรับธุรกิจอาหาร

โรงงานขนาดเล็ก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ในปี 2566 ธุรกิจร้านอาหารน่าจะเติบโต 2.7%-4.5% จากปี 2565 หรือมีมูลค่า 4.18-4.25 แสนล้านบาท โดยธุรกิจร้านอาหารยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวจะมีปัจจัยเฉพาะของประเภทของการให้บริการ ร้านอาหารและเฉพาะพื้นที่ โดยกลุ่มร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด (Limited Service) ร้านอาหารในพื้นที่ท่องเที่ยว ร้านอาหารในศูนย์การค้ามีโอกาสฟื้นตัวได้ดี และอาหารพร้อมทานแช่แข็งจะยังมีแนวโน้มเติบโตดีทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออกตามการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่และการขยายตัวของชุมชนเมือง ฉะนั้น หากใครกำลังมองหา โอกาสในการทำธุรกิจเป็นภาคการผลิตอาหารก็นับว่าเป็นโอกาสในการลงทุนดี และขั้นตอนแรกๆ ในการเริ่มก็คือการหา โรงงานขนาดเล็กที่ช่วยตอบโจทย์การลงทุนในธุรกิจอาหารของคุณ

แต่ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสิ่งสำคัญไม่แพ้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตอาหาร ก็คือการมีโรงงาน คลังสินค้าหรือโกดังพร้อมที่ดิน สำหรับการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่ดีและมีพื้นที่ที่สามารถจอดรถสำหรับขนส่งอาหารเข้าออกภายในโรงงานที่ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อการใช้งานด้วย และเมื่อได้องค์ประกอบของโรงงานสำหรับธุรกิจอาหารของคุณดังนี้แล้ว ต่อมาคือขั้นตอนและสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนการสร้างโรงงานสำหรับอุตสาหกรรมผลิตอาหารของคุณ

สิ่งที่ควรรู้เมื่อต้องการทำโรงงานขนาดเล็กสำหรับอุตสาหกรรมผลิตอาหาร

  1. สถานที่สำหรับผลิตอาหารของคุณเข้าข่ายที่จะเป็นโรงงานหรือไม่? : ตามพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 บอกไว้ว่า สถานที่ผลิตอาหารที่เข้าข่ายโรงงาน คือต้องมีการใช้เครื่องจักรที่มีกำลังแรงม้าและกำลังแรงม้าเปรียบเทียบรวม ตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไปหรือใช้คนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ไม่ว่าจะใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม หากคุณเข้าข่ายตามเงื่อนไขเหล่านี้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็การยื่นขอตรวจประเมินสถานที่ผลิต

  2. การยื่นเรื่องตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่การผลิต : เมื่อคุณพิจารณาแล้วว่าสถานที่ผลิตอาหารของธุรกิจคุณเข้าข่ายการเป็นโรงงานหรือ โรงงานขนาดเล็กแล้ว ต่อมาก็ถึงขั้นตอนของการยื่นเรื่องเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบสถานที่ผลิตและจัดเก็บข้อมูล โดยสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา ณ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้นๆ หรือยื่นคำขอผ่านเว็บไซต์ http://food.fda.moph.go.th/ESub/ ได้อีกด้วย

  3. ขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร : เมื่อโรงงานขนาดเล็ก รวมถึงคลังสินค้า ในการผลิตอาหารของคุณ ผ่านการมาตรฐานสถานที่การผลิตแล้ว สิ่งที่คุณจะต้องทำในขั้นตอนต่อไปก็คือ ขั้นตอนการยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร จากที่เดียวกับการขอยื่นตรวจประเมินมาตรฐานสถานที่การผลิต โดยต้องชำระค่าธรรมเนียม 2,000 บาท พร้อมกับเอกสารที่คุณต้องเตรียมสำหรับขั้นตอนการขออนุญาตให้ครบถ้วน มีดังนี้

    • คำขออนุญาตตั้งโรงงานตามแบบ อ1. (1 ฉบับ)
    • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต (1 ฉบับ)
    • สำเนาใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนพาณิชย์ (1 ฉบับ)
    • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล 1 ฉบับ (กรณีนิติบุคคล)
    • สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น 1 ฉบับ (เฉพาะนิติบุคคลที่เป็นบริษัท )
    • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้ดำเนินกิจการไม่ได้มายื่นเอง)
    • แบบแปลนแผนผังที่ถูกต้องตามมาตราส่วน จำนวน 1 ชุด (กรณีสถานที่ผลิตอยู่ต่างจังหวัดจะใช้ 2 ชุด)
    • แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงงานและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในบริการใกล้เคียง
    • แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณที่ดินของโรงงาน รวมทั้งระบบกําจัดนํ้าเสียและบ่อบาดาล (ถ้ามี)

    เมื่อเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบความครบถ้วนของคำขอ และเอกสารหลักฐานต่างๆ เรียบร้อยแล้ว และหากเจ้าหน้าที่แจ้งผลว่าได้รับการอนุญาตแล้ว จะทำการออกใบสั่งชำระค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 3,000 / 5,000 / 7,000 / 8,000 / 10,000 บาท (ขึ้นอยู่กับจำนวนแรงม้าของเครื่องจักร หรือจำนวนคนงานที่เกี่ยวข้องในการผลิต) ซึ่งใบอนุญาตผลิตอาหารจะสามารถใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ 3 นับตั้งแต่ออกใบอนุญาต

    โดยผู้ประกอบการจะต้องแสดงใบอนุญาตผลิตอาหารไว้ในที่เปิดเผยที่สามารถมองเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ผลิตอาหารที่ระบุไว้ในใบอนุญาต และต้องติดป้ายแสดงสถานที่ผลิตไว้ภายนอกสถานที่ ซึ่งต้องเป็นที่เปิดเผยในบริเวณ โรงงานขนาดเล็กของคุณ และสามารถมองเห็นง่ายอีกด้วย

  4. ผู้ประกอบการจะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจัดอยู่ในประเภทอาหารกลุ่มใด เพื่อการขอรับเลขสารบบอาหาร : ซึ่งเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์ จะหมายถึงเลข 13 หลักในกรอบเครื่องหมาย อย. บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งจะเป็นรหัสของข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ผลิต แต่ก่อนจะได้รับเลขสารบบอาหารจาก อย. ผู้ประกอบการจะต้องทราบก่อนว่าผลิตภัณฑ์ของตนเองนั้นจัดอยู่ในประเภทอาหารกลุ่มใด ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 โดยแบ่งอาหารเป็น 4 กลุ่มตามระดับความเสี่ยงที่จะมีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนี้

    • อาหารควบคุมเฉพาะ : (ยื่นแบบ อ.17)
    • อาหารที่กําหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน : (ยื่นแบบ สบ.3 หรือ สบ.5)
    • อาหารที่ต้องมีฉลาก : (ยื่นแบบ สบ.3 หรือ สบ.5)
    • อาหารทั่วไป : (สามารถดําเนินการผลิตได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์)

  5. มาตรฐานอะไรบ้าง? ที่โรงงานขนาดเล็กที่ผลิตอาหารควรมี : นอกจากมาตรฐานจาก อย. ไทยที่โรงงานผลิตอาหารจะต้องผ่านเกณฑ์แล้ว ยังมีมาตรฐานอื่นๆ ที่ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารควรมีไว้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าต่างๆ ที่จะเข้ามาจ้างโรงงานของคุณผลิตสินค้าที่เป็นอาหารด้วย อาทิ

    • GMP (Good Manufacturing Practice) : เป็นมาตรฐานที่แสดงว่าโรงงานผลิตอาหารของคุณ มาตรฐานที่ดีในเรื่องการควบคุมกระบวนการผลิตอาหาร มีความปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยมาตรฐาน GMP นี้เป็นมาตรฐานที่มีความน่าเชื่อถือสูงมากเพราะได้รับการรับรองจากทั่วโลก
    • HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) : เป็นอีกมาตรฐานที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าจะได้รับความปลอดภัยจากการทานอาหารที่ผลิตโดยมีตราสัญลักษณ์นี้อยู่บนบรรจุภัณฑ์
    • มาตรฐานอาหารฮาลาล (Halal) : เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์สำหรับชาวมุสลิมในการใช้อุปโภคและบริโภค ที่ออกโดยคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท) หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่างๆ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการแสดงลงบนสลากผลิตภัณฑ์หรือกิจการใด ซึ่งหากโรงงานขนาดเล็ก ที่ผลิตอาหารของคุณไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนาไม่ว่าจะเป็นการผลิต ปรุง แปรสภาพ ก็ควรมีมาตรฐานนี้ติดไว้ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาศในการรองรับลูกค้าที่เป็นมุสลิมได้ นั่นเอง
    • มาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ ISO 9000 : เป็นมาตรฐานที่แสดงถึงการบริการที่มีคุณภาพและมีระบบการจัดการที่ดี โดยโรงงานหรือธุรกิจนั้นๆ ที่ผ่านมาตรฐานนี้สามารถนำระบบบริหารนี้ไปปรับใช้ได้อย่างมีคุณภาพและมีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า
    • มาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) : ที่บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์จากโรงงานขนาดเล็ก ที่ผลิตอาหารของคุณผ่านมาตรฐานตามข้อกำหนดในการผลิตที่มีคุณภาพและเหมาะสม ทั้งกรรมวิธี วัตถุดิบที่นำมาใช้ วิธีวิเคราะห์ หรือการบรรจุ นั่นเอง

และนี่คือสิ่งที่คุณต้องทราบหากต้องการจะทำธุรกิจโรงงานผลิตอาหารของตนเอง โดยมีทั้งขั้นตอนต่างๆ ที่สำคัญในการจัดตั้งโรงงานและการขอใบอนุญาตที่สำคัญสำหรับการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร ซึ่งอาจะเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก และหากคุณกำลังมองหาโรงงาน คลังสินค้า หรือโกดังพร้อมที่ดิน สำหรับธุรกิจของคุณ โครงการไพร์ม เอสเตท เรามีโรงงานขนาดเล็ก ใหญ่หลายขนาดให้คุณเลือก อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรงงานที่มีความน่าเชื่อถือมาตรวจสอบคุณภาพต่างๆ และพร้อมให้คำแนะนำกับคุณ ทั้งในเรื่องของกระบวนการก่อสร้างและดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายให้ถูกต้องได้มาตราฐาน

 

สนใจดูรายละเอียดโครงการ โรงงานขนาดเล็ก, คลังสินค้า, โกดังพร้อมที่ดินทั้งหมดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: www.primeestate.co.th
โทร : 063 663 6663
Facebook Inbox : m.me/PrimeEstateSME
Line: line.me/R/ti/p/@primeestate
Email : Sales@primeestate.co.th