ระบบการจัดการในคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการ E Commerce ควรรู้!
ระบบคลังสินค้าที่ดีควรมีอะไรบ้าง?
การประกอบธุรกิจนอกจากจะมีการแข่งขันที่สูงแล้ว ยังต้องเร่งปรับเปลี่ยนกระบวนการทำธุรกิจของตนเองให้ทันความไวของโลกออนไลน์ ฉะนั้นเหล่าผู้ประกอบการต่าง ๆ จึงต้องเตรียมความพร้อมของการทำงานทุกส่วน และระบบการจัดการ คลังสินค้า ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก เพราะไม่ใช่เพียงแค่เป็นสถานที่สำหรับเก็บสินค้าให้อยู่ในสภาพดีจนกว่าจะมีการส่งมอบสินค้า แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน และสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตเพราะสามารถบริหารจัดการทั้งสินค้าและกำลังคนได้อย่างคุ้มค่า
คลังสินค้าอีคอมเมิร์ซคืออะไร?
สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีลักษณะของการค้าขายแบบออนไลน์ ทั้งที่เป็นผู้ที่มีศักยภาพในการผลิตสินค้า เพราะมี โรงงานขนาดเล็ก ของตนเอง หรือผู้ประกอบการที่จ้างผลิตต่าง ๆ จะต้องมีกระบวนการขาย, การกระจายสินค้า ไปจนถึงการจัดส่งที่ต้องรวดเร็วทันใจผู้บริโภค ฉะนั้น คลังสินค้า จึงจะต้องเป็นสถานที่ที่มีกระบวนการจัดเก็บและจัดการสินค้าที่สามารถจัดเก็บสินค้า การแพ็คและจัดส่งสินค้าในสถานที่เดียวกันได้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการอำนวยความสะดวกแก่ทีมงาน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มความแม่นยำในการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้องให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของ คลังสินค้า สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
✔ ช่วยสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานสำหรับสินค้าตามฤดูกาล หรือมีความต้องการมากเป็นพิเศษให้มีราคาที่แน่นอนและมีสินค้าไม่ขาดตลาด
✔ ช่วยลดต้นทุนด้านการผลิตและขนส่ง
✔ ช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิตและขนส่งทำให้สามารถลดต้นทุนของธุรกิจได้
✔ ช่วยให้สามารถส่งมอบสินค้าแก่ลูกค้าได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันนี้มีคลังเก็บสินค้าให้บริการเป็นจำนวนมาก ทั้งแบบคลังสำเร็จรูปที่มี โกดังพร้อมที่ดิน หรือเป็นแบบ คลังสินค้า ให้เช่าและซื้อขาดก็มีเหล่าผู้ประกอบการเลือกใช้ในรูปแบบที่เหมาสมกับธุรกิจของตน แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือคุณจะต้องทราบก่อนว่าระบบคลังจัดเก็บสินค้าที่ดีมีอะไรบ้าง? ฉะนั้นในบทความนี้ โครงการไพร์ม เอสเตท จะพาคุณมาทำความรู้จักกับระบบการจัดการต่างๆ ที่คุณควรรู้เกี่ยวกับคลังจัดเก็บสินค้า เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในธุรกิจของคุณได้
ยกตัวอย่างระบบการจัดการในคลังสินค้า สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
- ระบบการรับสินค้าเข้า : เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในกระบวนการจัดการคลัง โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการบันทึกข้อมูลสินค้าที่ถูกต้องเข้าสู่ระบบ เช่น ชื่อสินค้า, ราคา, ขนาด, จำนวน, น้ำหนัก, ที่อยู่ (ตำแหน่งที่จัดเก็บสินค้า) และรหัส SKU ของสินค้า เพื่อช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบได้ว่ารับสินค้าที่ถูกต้อง ในปริมาณและเวลาที่ถูกต้อง เพื่อลดความผิดพลาดในการจัดส่งสินค้า หรือลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียและความเสียหายของสินค้าในภายหลัง นั่นเอง
- ระบบการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า : กระบวนในขั้นตอนต่อจากการรับสินค้าเข้าคลัง ซึ่งระบบการจัดเก็บสินค้านั้นจะช่วยจัดระเบียบสินค้าให้สามารถหยิบและจัดเตรียมสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น โดยการจัดเรียงสินค้าในประเภทหรือหมวดหมู่เดียวกันในชั้นวางเดียวกันเพื่อประหยัดเวลาในการค้นหา อีกทั้งคุณยังสามารถบริหารจัดการพื้นที่คงคลังได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมอีกด้วย
- ระบบการหยิบสินค้า : คือการรวบรวมสินค้าจาก คลังสินค้า เพื่อดำเนินการตามคำสั่งซื้อของลูกค้า หรือที่เรียกว่า Order Picking โดยขั้นตอนนี้จะต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและถูกต้องของสินค้าเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันมีการนำซอฟแวร์ที่ทันสมัยมาใช้งานเพื่อความรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำที่มากขึ้น เช่น ระบบ WMS (Warehouse Management System), ระบบบาร์โค้ดหรือระบบ RFID (Radio frequency identification) เป็นต้น
โดยการหยิบสินค้าที่ได้รับความนิยมมีอยู่ 4 วิธีดังนี้
- การหยิบสินค้าเป็นชุด คือเป็นวิธีที่ E-Commerce เจ้าใหญ่ๆ ที่มีจำนวนการสั่งซื้อเยอะๆ นิยมใช้ โดยการรวมคำสั่งซื้อของลูกค้าหลายๆ ออเดอร์เข้าด้วยกัน แล้วหยิบสินค้านั้นมาพร้อมกันในทีเดียว จากนั้นค่อยนำมาแยกตามรายชื่อของลูกค้าที่สั่ง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มสะดวกและความรวดเร็วในการทำงานได้เป็นอย่างดี ในกรณีที่มีจำนวนการสั่งเยอะๆ
- การหยิบสินค้าเป็นโซน คือการกำหนดโซนสินค้าที่ต้องการจะหยิบใน คลังสินค้า ในแต่ละโซน เช่น โซนสินค้าประเภทเสริมความงาม, โซนสินค้าแช่แข็ง หรือโซนสินค้าเครื่องครัว ฯลฯ ซึ่งวิธีการนี้ จะนิยมใช้กับห้างสรรพสินค้า หรือ E-Commerce ขนาดใหญ่ที่ขายสินค้าหลากหลายประเภท และจะหยิบสินค้าเมื่อมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามา ผู้หยิบจึงเข้าไปหยิบสินค้าแต่ละโซนไล่ไปจนครบ ซึ่งบางธุรกิจที่มี โรงงานขนาดเล็ก ที่มีคลังหรือโกดังอยู่ที่เดียวกัน ก็อาจจะใช้สายพานช่วยลำเลียงสินค้าจากนั้นจึงส่งไปยังขั้นตอนต่างๆ ต่อไป
- การหยิบสินค้าเป็นคลื่น คือการหยิบสินค้าใน คลังสินค้า เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาตามช่วงเวลาต่างๆ แต่ต้องเป็นกำหนดเวลาที่ชัดเจน (ส่วนใหญ่ระบบนี้จะนิยมใช้กับห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เหมือนกับการหยิบสินค้าเป็นโซน ที่มีช่วงเวลาในการเบิกสินค้าจากคลังที่ชัดเจนเป็นเวลา) เช่น ทุกชั่วโมง, ทุกๆ ช่วงเช้า หรือทุกๆ ช่วงบ่าย โดยวิธีการหยิบสินค้าจะหยิบตามคำสั่งซื้อให้ครบทุกโซนของสินค้า จากนั้นจึงนำมาคัดแยกแบ่งตามรายชื่อลูกค้าที่สั่งซื้ออีกครั้ง
- การหยิบสินค้าตามคำสั่งซื้อ คือเมื่อมีออเดอร์เข้ามาจากลูกค้าก็จะเริ่มเดินหยิบสินค้าตามรายการที่อยู่ในใบคำสั่งซื้อ เมื่อเสร็จแล้วหากมีออเดอร์ใหม่ก็จะเริ่มเดินหยิบสินค้าอีกครั้ง ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์รายเล็กๆ ที่มีจำนวนออเดอร์ต่อวันไม่มากนัก และหากผู้ประกอบการ E-Commerce เจ้าใดเริ่มมีจำนวนการสั่งซื้อเข้ามาทีละมากๆ ก็ควรรีบปรับเปลี่ยนเป็น 3 วิธีขั้นต้นจะช่วยทำให้การหยิบสินค้ารวดเร็วกว่า
- การหยิบสินค้าเป็นชุด คือเป็นวิธีที่ E-Commerce เจ้าใหญ่ๆ ที่มีจำนวนการสั่งซื้อเยอะๆ นิยมใช้ โดยการรวมคำสั่งซื้อของลูกค้าหลายๆ ออเดอร์เข้าด้วยกัน แล้วหยิบสินค้านั้นมาพร้อมกันในทีเดียว จากนั้นค่อยนำมาแยกตามรายชื่อของลูกค้าที่สั่ง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มสะดวกและความรวดเร็วในการทำงานได้เป็นอย่างดี ในกรณีที่มีจำนวนการสั่งเยอะๆ
- การแพ็คสินค้าและส่งออกจากคลังสินค้า : เมื่อทำการหยิบสินค้าออกมาจำแนกตามคำสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละคนแล้ว ก็จะต้องนำมาแพ็คสินค้าเตรียมจัดส่งให้แก่ลูกค้า ซึ่งความปลอดภัยและความถูกต้องของสินค้าในการบรรจุลงกล่องพัสดุคือหัวใจหลักของขั้นตอนนี้ ฉะนั้นจึงควรมีการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าอีกครั้ง และต้องมั่นใจว่าการแพ็คสินค้าจะสามารถป้องกันความเสียหายระหว่างการขนย้ายและขนส่งได้ นอกจากนั้นการเลือกขนาดของกล่องพัสดุให้เหมาะสมกับปริมาณและขนาดของสินค้า ก็จะช่วยลดต้นทุนการจัดส่งของคุณได้อีกทางหนึ่ง
- การคืนสินค้า : สำหรับการทำธุรกิจ E-Commerce ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือกระทั่งการขายของออนไลน์รายเล็กๆ ย่อมต้องเจอกับการคืนสินค้า แม้จะไม่อยากให้มีขั้นตอนนี้ก็ตาม! แต่เมื่อมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นผู้ประกอบการก็มีความจำเป็นต้องมีระบบจัดการสำหรับคืนสินค้านี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- นโยบายการคืนและเปลี่ยนสินค้า ที่มีระบุเป็นรายลักษณ์อักษรและชี้แจงกับลูกค้าอย่างชัดเจน
- การจัดการกับสินค้าที่ได้รับคืนมา เช่น รับเข้ามาในสต็อกของ คลังสินค้า ใหม่อีกครั้ง, การนำมาปรับปรุงซ่อมแซมให้ดีเช่นเดิม, การทำลายทิ้ง หรือนำส่งคืนไปยังผู้ผลิต ฯลฯ หากสินค้าของคุณจะต้องมีขั้นตอนดังนี้ทั้งหมด ก็อาจจะต้องจัดแบ่งโซนการจัดสินค้าส่งคืนอย่างชัดเจน
- จัดเตรียมระบบการแก้ไขยอดขายและกำไร ที่จะต้องถูกแก้ไขเมื่อมีสินค้าถูกส่งกลับคืนมา
- นโยบายการคืนและเปลี่ยนสินค้า ที่มีระบุเป็นรายลักษณ์อักษรและชี้แจงกับลูกค้าอย่างชัดเจน
- ระบบการตรวจสอบสินค้าในคลังสินค้า : ในทุกๆ หนึ่งปีคุณควรมีการตรวจสอบสินค้าที่มีอยู่ในคลังว่ามีจำนวนถูกตามที่ระบุในรายงานหรือไม่? มีสินค้าส่วนใดเสียหายหรือเสื่อมสภาพหรือไม่? และเพื่อความรวดเร็วของขั้นตอนนี้ เหล่าผู้ประกอบการ E-Commerce หลายเจ้าจึงนิยมนำซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ เช่น ระบบบาร์โค้ด เพื่อใช้สแกนนับจำนวนของสินค้าได้อย่างรวดเร็ว หรือระบบ WMS ที่สามารถเชื่อมกัยระบบ OMS จะเชื่อมต่อข้อมูลของสินค้าในคลังเข้ากับข้อมูลคำสั่งซื้อจากช่องทางขายต่างๆ แบบ Real Time ได้ เมื่อตรวจสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณก็สามารถปรับสมดุลสินค้าคงคลังให้อัพเดตตามจำนวนจริงได้
- ระบบวิเคราะห์เพื่อวางแผนในการขายและจัดซื้อ : คือรายงานและสถิติของสินค้าต่างๆ ใน คลังสินค้า ที่มีความจำเป็นต่อธุรกิจของคุณ เพื่อวางแผนในการขายและการสั่งผลิตหรือซื้อเพิ่มในอนาคต ซึ่งมีข้อมูลดังต่อไปนี้
- ข้อมูลการส่งออก รับเข้าและจำนวนสินค้าคงคลัง
- รายการสินค้าคงเหลือ
- ข้อมูลของสินค้าที่ขายดีหรือสินค้าที่ขายได้ต่ำกว่ามาตรฐาน
- สินค้าที่ขาดหายไป เสียหาย และสาเหตุของการสูญหาย
ทั้งหมดนี้คือระบบการจัดการใน คลังสินค้า ที่ผู้ประกอบการ E Commerce ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กควรรู้ไว้ เพื่อนำไปใช้บริหารจัดการสินค้าในคลังของคุณให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของการปฏิบัติงานที่สะดวกง่ายรวดเร็วมากขึ้น และในเรื่องของการบริหารต้นทุนให้เหมาะสม เพื่อความสำเร็จในธุรกิจของคุณได้ นั่นเอง
หากคุณกำลังมองหา คลังสินค้า หรือโกดังพร้อมที่ดิน หรือโรงงานขนาดเล็ก ที่ตั้งอยู่บนทำเลทองอย่าง โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ง่ายต่อการขนส่งสินค้าเข้า-ออก เส้นทางคมนาคมต้องหลากหลายและสะดวกสบาย โครงการไพร์ม เอสเตท มีบริการ ขายโรงงานขนาดเล็ก, ขายคลังสินค้า หรือขายโกดังพร้อมที่ดิน หลายขนาด ให้คุณได้เลือกให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจของคุณได้
สนใจดูรายละเอียดโครงการ โรงงานขนาดเล็ก, คลังสินค้า, โกดังพร้อมที่ดินทั้งหมดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: www.primeestate.co.th
โทร : 063 663 6663
Facebook Inbox : m.me/PrimeEstateSME
Line: line.me/R/ti/p/@primeestate
Email : Sales@primeestate.co.th