เลือกโรงงานขนาดเล็กสำหรับผลิตอาหารแห่งใหม่ให้ธุรกิจคุณ
โรงงานขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ GMP กำหนดไว้ เพื่อง่ายต่อการประกอบธุรกิจผลิตอาหารของคุณ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice ; GMP) สำหรับ โรงงานขนาดเล็ก หรือใหญ่ให้มีความเหมาะสมกับการผลิตอาหารในปัจจุบัน โดยได้จัดทำข้อกำหนด GMP ฉบับเดียวที่สามารถใช้ประเมินอาหารได้ทุกประเภทตามความเสี่ยงของการผลิต คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 420) พ.ศ.2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหาร เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อกำหนด และเกิดความเท่าเทียมเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ฉะนั้น ผู้ประกอบการโรงงานอาหารหากคุณกำลังคิดจะสร้างหรือเช่า โรงงานขนาดเล็ก เพื่อประกอบธุรกิจการผลิตอาหาร คุณจะต้องศึกษาจึงควรทราบถึงหลักการในการประเมินมาตรฐานของ GMP ซึ่งมาตรฐานนี้นอกจากจะเป็นสิ่งที่โรงงานผลิตอาหารของคุณจะต้องผ่านมาตรฐานนี้ตามกฏหมายแล้ว ก็ยังเป็นเครื่องหมายที่ช่วยการันตีเรื่องคุณภาพที่ดีและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคอีกด้วย
มาตรฐาน GMP คืออะไร?
GMP ย่อมาจากคำว่า Good Manufacturing Practice ซึ่งก็คือมาตรฐานสากลในการผลิตอาหารเพื่อควบคุมการผลิตอาหารที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ด้วยข้อกำหนดต่างๆ ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม เพื่อให้ได้อาหารที่มีมาตรฐานเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งมาตรฐาน GMP นั้นจะควบคุมทั้งส่วนของสถานประกอบการ, โครงสร้างอาคารหรือ โรงงานขนาดเล็ก รวมถึงไปกระบวนการผลิตที่เริ่มตั้งแต่ การคัดสรรวัตถุดิบ, การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ, การจัดเก็บใน คลังสินค้า และกระบวนการจัดส่งสินค้าด้วยโดยทางโรงงานจะต้องมีการบันทึกข้อมูลและการตรวจสอบติดตามคุณภาพของผลิตภัณฑ์
มาตรฐาน GMP สำหรับโรงงานผลิตอาหาร สามารถแบ่งข้อกำหนดและหลักปฏิบัติให้ตรงตามมาตรฐาน 2 ส่วน ดังนี้
- General GMP : คือมาตรฐานสุขลักษณะทั่วไปสำหรับอาหารทุกประเภท ประกอบไป 6 ส่วนที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ได้แก่ สถานที่ตั้ง/อาคารผลิต, เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต, การควบคุมกระบวนการผลิต, การสุขาภิบาล, การบํารุงรักษาและการทําความสะอาด, บุคลากรและสุขลักษณะ
ซึ่งการก่อสร้างโรงงานหรือการเช่า โรงงานขนาดเล็ก ใหญ่สำหรับการผลิตอาหารจะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของการกำหนดให้การควบคุมสภาพสถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือกทำเลที่ตั้ง, การออกแบบอาคาร, การวางผัง และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานที่ผลิตอาหาร โดยจะต้องคำนึงถึงการป้องกันการปนเปื้อน เพื่อให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัยและมีคุณภาพมาตรฐานต่อผู้บริโภค ดังต่อไปนี้- สถานที่ประกอบการ/สถานที่ตั้ง/อาคารผลิต/โรงงานขนาดเล็ก : จะเป็นอาคารชั้นเดียวหรือหลายชั้น ทั้งภายนอกและภายในต้องมีการออกแบบ วางผังที่มีขนาดที่เหมาะสมและก่อสร้างวัสดุคงทน แข็งแรงทนทาน ผิวเรียบ ไม่ดูดซึมน้ำ จะต้องซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา เป็นสัดส่วนง่ายต่อการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด รวมถึงง่ายต่อการปฏิบัติงานด้วย ซึ่งมาตรฐาน GMP จะพิจารณาโรงงานหรืออาคารผลิตอาหารแบ่งเป็นสัดส่วนดังนี้
- หลังคา : จะต้องใช้วัสดุที่ช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารผลิต ต้องไม่มีน้ำขังและรั่วซึม หลังคาที่ต้องมีความลาด เอียง เพื่อป้องกันน้ำรั่ว น้ำขัง ควรมีการตรวจสอบเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนว่ามีรางระบายน้ำเพียงพอที่ ระบายน้ำลงสู่ท่อระบายน้ำภายนอกอาคาร ระหว่างหลังคาและเพดานควรมีช่องลมหรือช่องระบายอากาศ อย่าง เพียงพอ อีกทั้งต้องมีการป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไปทำรังด้วย
- บริเวณพื้นที่ผลิตอาหาร : ต้องจัดให้มีพื้นที่ปฏิบัติงานใน โรงงานขนาดเล็ก ต้องไม่น้อยกว่า 3 ตารางเมตรต่อพนักงาน 1 คน โดยนับรวมพื้นที่วางโต๊ะปฏิบัติงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต ซึ่งจะต้องแยกการปฏิบัติงานสำหรับสายงานการผลิตอาหารประเภทต่างๆ ออกเป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกับพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ปฏิบัติงานอื่นๆ ไม่ควรมีสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตอยู่ในบริเวณดังกล่าว โดยบริเวณผลิตควรประกอบด้วยห้องเก็บวัตถุดิบ ส่วนเตรียมวัตถุดิบ ส่วนผลิตอาหาร ส่วน บรรจุและติดฉลาก ส่วนเก็บผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
พื้นที่ผลิตใน โรงงานขนาดเล็ก ควรจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตติดตั้งไว้ตามลำดับขั้นตอนของกระบวนการผลิตอย่างเป็นสัดส่วน เพื่อสะดวกในการควบคุมและการรักษาความสะอาด รวมทั้งป้องกันการปนเปื้อนข้ามจากวัตถุดิบไป สู่ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว บริเวณที่เก็บวัตถุดิบ ภาชนะบรรจุและสารเคมีต้องเก็บเป็นสัดส่วนไม่ปนกัน - พื้นของอาคารสำหรับผลิตอาหาร : ไม่ควรจะให้เรียบเกินไปเพราะอาจลื่นได้เมื่อมีคราบน้ำมันหรือน้ำอยู่บนพื้น ส่วนบริเวณที่ต้องใช้น้ำทำความสะอาดควรมีความลาดเอียงเพื่อไม่ให้น้ำขังและสามารถระบายน้ำได้ดี ปกติใช้ความลาดเอียงของพื้นระหว่าง 1/8-1/4 นิ้วต่อฟุต ความกว้างไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร พื้นร่องระบายน้ำควรเป็นมุมโค้งเพียงพอต่อการระบายน้ำและมีท่อเปิดรับการระบายน้ำออกจากพื้นที่ 100 ตารางฟุต บริเวณท่อเปิดมีตะแกรงกันเศษขยะตกลงไปในท่อ ตะแกรงที่ใช้ควรเป็นแบบโปร่งมองเห็นพื้นรางระบายน้ำได้ และจะต้องติดตั้งบ่อดักไขมันแต่ต้องไม่อยู่ในบริเวณผลิต
- ผนัง ประตูและหน้าต่างของโรงงานขนาดเล็กสำหรับผลิตอาหาร : ต้องออกแบบและก่อสร้างด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่าย และจะต้องการออกแบบให้ระบายอากาศและความร้อนภายในอาคารได้ดี ผนังต้องมีการทำความสะอาดอยู่เสมอ ฝาผนังด้านนอกอาคารจะต้องก่อสร้างลึกลงไปในดินไม่น้อยกว่า 2 ฟุต และก่อเป็นมุมฉากกับผนัง กว้างอย่างน้อย 1 ฟุตเป็นรูป ตัว L เพื่อ ป้องกันหนูขุดรูเข้าไปในอาคาร
สีที่ใช้ทาผนัง ต้องปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม หรือสารประกอบฟินอลลิก (phenolic compound) และควรมีคุณสมบัติยึดเกาะผิวได้แน่น เคลือบด้วยสารประกอบเคมีป้องกันการลอกของสี และป้องกันปฏิกิริยาต่างๆ ที่อาจเกิดจากไอน้ำ น้ำมันหล่อลื่น กรดและด่างต่างๆขอบหน้าต่างควรเอียงทำมุมอย่างน้อย 25 องศา เพื่อป้องกันการสะสมของฝุ่นและ ละออง ประตูเข้าออกไม่ควรเปิดกว้างมากควรมีความกว้างพอเหมาะสำหรับรถยก (folk lift) และอุปกรณ์หนักเข้าไป - เพดาน : ต้องทำด้วยวัสดุที่คงทน เรียบ ทำความสะอาดง่าย เพื่อป้องกันการสะสมฝุ่น การร่วงหล่นของวัสดุ กรณีที่มีอุปกรณ์สิ่งที่ยึดติดอยู่ด้านบน เช่น พัดลมเพดาน รางครอบสายไฟ ท่อน้ำยาเครื่องปรับอากาศ ต้องอยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน หากมีการทาสีควรใช้สีประเภทอีพอกซี่ (epoxy paint) เพื่อป้องกันการลอกของสี ฝ้าเพดานต้องแข็งแรง ทนทาน ไม่มีรอยแตกหรือรูและต้องมีช่องเปิด-ปิด เพื่อให้เข้าไปทำความสะอาดได้ ป้องกันการซุกซ่อน ทำรังของสัตว์และแมลง
- ระบบท่อของโรงงานขนาดเล็กสำหรับผลิตอาหาร : ไม่ควรเดินท่อที่มีไอน้ำควบแน่นผ่านไปในบริเวณที่ผลิตอาหาร เพื่อป้องกันน้ำหยดลงมา แต่หากจำเป็นก็ควรพันท่อด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนอย่างดีสถานที่ผลิตหลายแห่งมีการกั้นฝ้าเพดาน เพื่อให้ระบบท่อต่างๆ อยู่เหนือฝ้าเพดานหรือทำเป็นห้องใต้หลังคาเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาด
- หลังคา : จะต้องใช้วัสดุที่ช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารผลิต ต้องไม่มีน้ำขังและรั่วซึม หลังคาที่ต้องมีความลาด เอียง เพื่อป้องกันน้ำรั่ว น้ำขัง ควรมีการตรวจสอบเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนว่ามีรางระบายน้ำเพียงพอที่ ระบายน้ำลงสู่ท่อระบายน้ำภายนอกอาคาร ระหว่างหลังคาและเพดานควรมีช่องลมหรือช่องระบายอากาศ อย่าง เพียงพอ อีกทั้งต้องมีการป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไปทำรังด้วย
- สายการผลิตและผังการไหลของผลิตภัณฑ์ : การวางผังสถานที่ผลิต เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ผลิตอาหาร จะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ เช่น การเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่ๆ การปรับปรุงพื้นที่เดิมหรือขยายเนื้อที่ออกไป การซื้อเครื่องจักรเข้ามาติดตั้งใหม่ เป็นต้น
- การระบายน้ำภายนอกและภายในโรงงานขนาดเล็กสำหรับผลิตอาหาร : ท่อหรือทางระบายน้ำต้องมีขนาดเหมาะสม สามารถรองรับปริมาณน้ำทิ้งภายในอาคารและน้ำฝน ท่อหรือทางระบายน้ำต้องลาดเอียงเพียงพอเพื่อระบายน้ำออกจากอาคารผลิต ไม่ทำให้เกิดน้ำขังและสกปรก จนอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนกับกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ได้ ควรมีตะแกรงดักเศษอาหารที่ปลายท่อเพื่อป้องกันการอุดตัน
- การระบายอากาศและแสงสว่างในโรงงานขนาดเล็กสำหรับผลิตอาหาร : การระบายอากาศอย่างเหมาะสมและพอเพียงในพื้นที่ผลิตอาหาร เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะวัตถุดิบในการผลิตอาหารส่วนใหญ่สามารถดูดกลิ่นต่างๆ ไว้ เช่น แป้ง มะพร้าว นมผง ไข่ ถั่วต่างๆ หากเก็บไว้ในที่ไม่มีอากาศถ่ายเท ที่อับชื้น อาจทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ รวมถึงอันตรายจากความชื้นและฝุ่นละอองจากการผลิต ซึ่งการระบายอากาศที่ดีจะช่วยลดความชื้นและปริมาณไอน้ำลงบริเวณอาคารที่ผลิตอาหารได้
- ห้องบรรจุอาหาร : ต้องมีทางเข้าออกท่ีสามารถป้องกันสัตว์และแมลงได้ และจะต้องไม่เป็นทางเดินผ่านไปยังบริเวณอื่นเพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจุลินทรีย์ก่อโรคให้น้อยที่สุด อาจเพิ่มมาตรการป้องกันที่เข้มงวดขึ้นได้ เช่น มีการควบคุมอุณหภูมิ, ระบบการกรองอากาศ หรือระบบรักษาระดับความดันในห้องให้เป็นบวก, มีการกำหนดช่องทางเข้าของผลิตภัณฑ์ พนักงาน และทางออกของผลิตภัณฑ์ที่บรรจุเสร็จแล้ว รวมทั้งของเสียในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนข้ามลงสู่ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
- ห้องน้ำและอ่างล้างมือในกระบวนการผลิต : ควรสร้างด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย วัสดุที่ใช้ต้องถาวรแข็งแรง ไม่มีน้ำขังและน้ำซึม การระบายอากาศดี แสงสว่างเพียงพอ ไม่คับแคบและอับทึบ โถสุขภัณฑ์ที่ใช้ควรเป็นแบบชักโครก โดยแยกสำหรับพนักงานชายและหญิงให้เป็นสัดส่วน ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1.5 ตารางเมตรต่อ 1 ที่นั่ง ประตูปิดสนิทและไม่เปิดออกสู่บริเวณผลิตอาหารโดยตรง มีการระบายอากาศอย่างดี มีการทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และมีการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อด้วย
- สถานที่ประกอบการ/สถานที่ตั้ง/อาคารผลิต/โรงงานขนาดเล็ก : จะเป็นอาคารชั้นเดียวหรือหลายชั้น ทั้งภายนอกและภายในต้องมีการออกแบบ วางผังที่มีขนาดที่เหมาะสมและก่อสร้างวัสดุคงทน แข็งแรงทนทาน ผิวเรียบ ไม่ดูดซึมน้ำ จะต้องซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา เป็นสัดส่วนง่ายต่อการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด รวมถึงง่ายต่อการปฏิบัติงานด้วย ซึ่งมาตรฐาน GMP จะพิจารณาโรงงานหรืออาคารผลิตอาหารแบ่งเป็นสัดส่วนดังนี้
- Specific GMP : คือมาตรฐานที่เน้นเรื่องความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารโดยเฉพาะ เช่น ข้อกําหนด GMP สำหรับน้ำบริโภค หรือข้อกําหนด GMP สำหรับนมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์ และGMP สำหรับการผลิตอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทชนิดที่มีความเป็นกรดต่ำ และชนิดที่ปรับกรด ที่ผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยทำให้ปลอดเชื้อเชิงการค้า (Commercial Sterilization) เป็นต้น
ทั้งหมดนี้คือหลักการและวิธีการสร้าง โรงงานขนาดเล็ก สำหรับผลิตอาหารแห่งใหม่ให้ธุรกิจคุณ ที่คุณจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมาตรฐาน GMP ที่กำหนดไว้ หากคุณไม่ได้คิดที่จะสร้างโรงงานใหม่ แต่เลือกที่จะเช่าหรือซื้อโรงงานสำเร็จรูป ก็ให้พิจารณาว่าโรงงานที่คุณเลือกมีคุณสมบัติตรงตามที่ GMP กำหนดไว้ เพื่อง่ายต่อการประกอบธุรกิจผลิตอาหารของคุณนั่นเอง
หากคุณกำลังมองหา โรงงานขนาดเล็ก คลังสินค้า ที่ได้มาตรฐานและตั้งอยู่บนทำเลทองอย่างโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ง่ายต่อการขนส่งสินค้าเข้า-ออก เส้นทางคมนาคมต้องหลากหลายและสะดวกสบาย โครงการไพร์ม เอสเตท มีบริการ ขายโรงงานขนาดเล็ก, ขายคลังสินค้า หลายขนาดให้คุณได้เลือกให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจของคุณได้
สนใจดูรายละเอียดโครงการ โรงงานขนาดเล็ก, คลังสินค้า, โกดังพร้อมที่ดินทั้งหมดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: www.primeestate.co.th
โทร : 063 663 6663
Facebook Inbox : m.me/PrimeEstateSME
Line: line.me/R/ti/p/@primeestate
Email : Sales@primeestate.co.th