อยากติดตั้งโซล่าร์เซลล์ระบบโรงงานขนาดเล็กต้องทำอย่างไรบ้าง
ประเภทของโซล่าร์เซลล์ที่ใช้สำหรับบ้านอาคารและโรงงานขนาดเล็ก
เมื่อ โรงงานขนาดเล็ก ที่มี คลังสินค้าหรือโกดังสินค้าพร้อมที่ดิน จำนวนมากต้องแบกรับภาระค่าไฟฟ้าที่ปรับขึ้นอย่างมาก สวนทางกับราคาของแผงโซล่าร์เซลล์ แม้ทุกวันนี้การติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมจะมีราคาสูง แต่ก็ดูเหมือนว่าจะคุ้มค่าได้ในระยะยาวเพราะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของธุรกิจได้จำนวนมาก นอกจากนั้นยังช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นอีกด้วย เพราะการติดโซล่าร์เซลล์เป็นพลังงานที่สะอาดสามารถ รักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง
เมื่อประโยชน์ดังที่กล่าวมา ดูเหมือนว่าจะช่วยให้ โรงงานขนาดเล็ก ที่มี คลังสินค้าหรือโกดังสินค้าพร้อมที่ดิน ของธุรกิจคุณได้ดีเป็นอย่างมาก จึงไม่ต้องแปลกใจหากหลายโรงงานและหลายบริษัทจะหันมาสนใจในการติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์เพื่อใช้ในธุรกิจของตัวเองมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญก่อนการติดตั้งนั้นคุณจะต้องทราบถึงขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าร์เซลล์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ถูกกฏหมายก่อนด้วย และในบทความนี้ โครงการ ไพร์ม เอสเตท เรามีขั้นตอนต่างๆ ในการขออนุญาตติดตั้งโซล่าร์เซลล์มาให้โรงงานต่างๆ ที่สนใจได้นำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งรายละเอียดจะอยู่ในบทความนี้อย่างครบถ้วน แต่ก่อนอื่นเรามาดูข้อมูลสำคัญของตัวเลขผู้ใช้งานทั่วโลกกันก่อน
จากภาพเป็นการสรุปภาพรวมของการใช้งานโซล่าร์เซลล์ทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลจากหลายประเทศต่างๆ มีนโยบายผลักดันการใช้โซล่าร์เซลล์จึงทำให้ตัวเลขของการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย Global Industry Analysts, Inc. ได้เก็บข้อมูลในรายงานชื่อ Global Market Trajectory & Analytics ได้ระบุไว้ว่า “การติดตั้งระบบการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากทั่วโลก เมื่อสิ้นปี 2020 อยู่ที่ประมาณ 714 กิกะวัตต์ โดยมีประเทศ 5 อันดับแรก ที่มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์มากที่สุดในโลก ในปี 2020 ได้แก่
- ประเทศจีน มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 254,355 เมกะวัตต์ (MW)
- ประเทศสหรัฐอเมริกา มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 75,572 เมกะวัตต์ (MW)
- ประเทศญี่ปุ่น มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 67,000 เมกะวัตต์ (MW)
- ประเทศเยอรมนี มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 53,783 เมกะวัตต์ (MW)
- ประเทศอินเดีย มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 39,211 เมกะวัตต์ (MW)
ส่วนประเทศไทยของเรานั้นในปี 2020 ที่ผ่านมาพบว่า กำลังผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.3 คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 2,979.4 เมกะวัตต์ (MW) หรือคิดเป็นร้อยละ 24.88 (ที่มา : รายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทย 2563 โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน) และถึงแม้จะยังไม่มีรายงานการใช้งานและผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในปีล่าสุดออกมา แต่เราก็เชื่อว่าแนวโน้มของตัวเลขนั้นสูงมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะจากรายงานของ Global Market Trajectory & Analytics ได้คาดการณ์ว่าตลาดของโซล่าร์เซลล์ทั่วโลกจะมีมูลค่าเพิ่มถึง 127.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2026
ประเภทของเทคโนโลยีโซล่าร์เซลล์ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทหลักๆ ที่ใช้สำหรับบ้านอาคารและโรงงานขนาดเล็ก ได้ดังต่อไปนี้
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) : ซึ่งแผงโซล่าร์ประเภทนี้มีประสิทธิภาพในผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุด แต่ก็มีราคาที่แพงสุดด้วยเช่นกัน
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) : เป็นแผงโซล่าร์ชนิดที่มีขั้นตอนกระบวนการในการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและมีการใช้ปริมาณซิลิคอนในการผลิตน้อยกว่า ราคาและประสิทธิภาพก็ลดหลั่นลงมาจากประเภทโมโนคริสตัลไลน์
- แผงโซล่าร์เซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells) : เป็นการผลิตโซล่าร์เซลล์ชนิดฟิล์มบางนั้น ทำงานได้โดยนำสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นไฟฟ้าได้ เช่น Amorphous silicon (a-Si), Cadmium telluride (CdTe), Copper indium gallium selenide (CIS/CIGS) ฯลฯ มาฉาบเป็นฟิล์มบางๆ ซ้อนกันหลายชั้น ซึ่งแผงโซล่าร์ชนิดนี้มีผลิตที่ง่ายแต่ก็มีความสามารถผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด นั่นเอง
ขั้นตอนการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ระบบ “โรงงานขนาดเล็ก” ต้องทำอย่างไรบ้าง
- สำรวจสถานที่ติดตั้งโซล่าร์เซลล์ของคุณ : ใช่ว่าเมืองไทยเมืองร้อนจะสามารถติดตั้งโซล่าร์เซลล์ตรงไหนก็ได้ เพราะพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งแผง Solar Cell นั้นจะต้องพิจารณาถึงทิศทางของแสงแดดจากพระอาทิตย์ที่เพียงต่อการผลิตไฟด้วย เพราะหากความเข้มของแสงอาทิตย์ต่ำเกินไป ไม่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ก็อาจจะไม่คุ้มค่ามากพอ ซึ่งหากจะพิจารณาในระบบจังหวัดและภูมิภาคในประเทศไทย มีภาคกลาง, ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น ที่เหมาะสมสำหรับสามารถติดตั้งโซล่าร์เซลล์ ที่มีค่าพลังงานตั้งแต่ 4 kWh/kWp ขึ้นไป ในขณะอื่นๆ ในประเทศไทย อาจมีแสงแดดไม่เพียงพอตลอดทั้งปีสำหรับการใช้งานไฟฟ้าของ โรงงานขนาดเล็ก หรือโรงงานที่มี คลังสินค้า ซึ่งหากคุณมีโรงงานอยู่บนพื้นที่ของ 3 ภาคดังกล่าว ก็ถือว่าเริ่มต้นการติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ได้เร็ว นั่นเอง
- ขนาดของแผงโซล่าร์เซลล์ที่เหมาะสมกับพื้นที่และการใช้งานไฟฟ้าใน “โรงงานขนาดเล็ก” ของคุณ : ซึ่งการคำนวณการใช้งานไฟฟ้าเพื่อเลือกขนาดของแผงโซล่าร์เซลล์ให้เหมาะสมนั้น อาจจะต้องใช้ผู้ชำนาญการที่เรียกว่า Engineering, Procurement and Construction (EPC) ที่สามารถช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเรื่องการคำนวณและขนาดของแผงโซล่าร์เซลล์ให้คุณได้ โดยเปรียบเทียบค่าไฟย้อนหลัง 6-12 เดือนที่ผ่านมา (วัดเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง) เพื่อหาขนาดที่เหมาะสมกับโรงงาน, คลังสินค้า หรือโกดังสินค้าพร้อมที่ดิน ของธุรกิจคุณได้
- การขออนุญาตติดตั้งโซล่าร์เซลล์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : อย่างที่เรากล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าการจะติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งที่ใช้ในอาคารบ้านเรือนหรือใช้ใน โรงงานขนาดเล็ก, โรงงานที่มี คลังสินค้า หรือโกดังสินค้าพร้อมที่ดิน ของธุรกิจคุณนั้น จะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
- ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง : โดยสามารถยื่นขออนุญาตได้ที่หน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเทศบาล/ อบต. ในเขตพื้นที่ เพื่อทำการดัดแปลงโครงสร้างบนหลังคาก่อนทำการติดตั้ง โดยเตรียมเอกสารแบบคำขอ ข.1 แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์และรายละเอียดของการติดตั้ง และรายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน (โยธา) จากนั้นก็ให้รอการอนุมัติจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงสามารถทำการติดตั้งได้
- ลงทะเบียนเพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต : ที่สำนักงาน กกพ. หรือบนเว็ปไซต์ของสำนักงาน กกพ. คือ https://www.cleanenergyforlife.net/ และเตรียมเอกสารสำหรับการลงทะเบียนดังนี้ สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น, ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซล่าเซลล์ที่เห็นครบชุดแผง อินเวอร์เตอร์, แบบ Single Line Diagram ทางการไฟฟ้า พร้อมวิศวกรไฟฟ้ากำลังลงนามรับรอง, แบบแปลนโครงสร้างการติดตั้งและรายการคำนวณโครงสร้าง พร้อมวิศวกรโยธาลงนามรับรอง, เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ), ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง, ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของ Inverter ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า หรือตามมาตรฐานของการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น, สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกับชื่อผู้ใช้ไฟและบิลค่าไฟ
- ติดต่อการไฟฟ้าฯ เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ : เมื่อได้รับทั้งการอนุญาตจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงาน กกพ. แล้วให้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในเขตพื้นที่ของการติดตั้ง เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อระบบโซล่าร์เซลล์กับไฟฟ้าต่อไป
- ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการขอขนานไฟของ กฟน. หรือ กฟภ. (PEA) : โดยลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ https://ppim.pea.co.th:4433/app/project/eco หรือในส่วนของ PEA ไม่เข้าร่วมโครงการขายไฟให้เตรียมเอกสารไปยื่นกับการไฟฟ้าเขตของพื้นที่นั้นๆ และจะต้องเตรียมเอกสารสำหรับการลงทะเบียน ได้แก่ แบบคำขอ ข.1, เอกสารแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา, บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า, หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ (โดยมิเตอร์ 1 เฟส จะสามารถติดตั้งได้สูงสุด 5kw. และมิเตอร์ 3 เฟส จะขอติดตั้งได้สูงสุด 10kw., บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า, หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ (โดยมิเตอร์ 1 เฟส จะสามารถติดตั้งได้สูงสุด 5kw. และมิเตอร์ 3 เฟส จะขอติดตั้งได้สูงสุด 10kw.), เอกสารมอบอำนาจ (กรณีทำมอบอำนาจ), ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง, ชนิด รุ่น ยี่ห้อ Spec ของ Inverter ที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้า หรือตามมาตรฐานของการไฟฟ้าแล้วเท่านั้น, แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) ที่มีการเซ็นรับรองแบบโดยวิศวกร พร้อมแนบสำเนาใบประกอบวิชาชี (ใบกว.) และข้อมูลของแผนที่ตั้ง รูปถ่ายหน้าบ้าน และรูปถ่ายที่เห็นแผงโซล่าครบทุกแผง
- ยื่นสำเนาหนังสือรับและชำระค่าบริการต่างๆ การไฟฟ้า : เมื่อแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ จาก กกพ. และ กฟน. หรือ กฟภ. ผ่านเรียบร้อยแล้ว คุณจะต้องไปชำระค่าบริการต่างๆ และค่าขนาดไฟ เมื่อเสร็จเรียบร้อยเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบสายภายใน และระบบการผลิต เมื่อผ่านตามข้อกำหนดต่างๆ แล้ว การไฟฟ้าก็จะทำการเปลี่ยนประเภทมิเตอร์ไฟฟ้าให้เป็นมิเตอร์สำหรับโซล่าร์เซลล์โดยเฉพาะ และทำการเชื่อมต่อ COD กับระบบของการไฟฟ้า เพื่อให้ โรงงานขนาดเล็ก ของคุณสามารถเริ่มใช้งานโซล่าเซลล์ได้เลย
- ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง : โดยสามารถยื่นขออนุญาตได้ที่หน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเทศบาล/ อบต. ในเขตพื้นที่ เพื่อทำการดัดแปลงโครงสร้างบนหลังคาก่อนทำการติดตั้ง โดยเตรียมเอกสารแบบคำขอ ข.1 แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์และรายละเอียดของการติดตั้ง และรายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน (โยธา) จากนั้นก็ให้รอการอนุมัติจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงสามารถทำการติดตั้งได้
หากคุณกำลังคิดจะติดตั้งโซล่าร์เซลล์ในโรงงานของคุณ แต่พื้นที่ตั้งของโรงงานอาจไม่ได้อยู่ในภูมิภาคที่เหมาะแก่การติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ ที่โครงการ ไพร์ม เอสเตท เรามีบริการ ขายโรงงานขนาดเล็ก, ขายคลังสินค้า หรือขายโกดังพร้อมที่ดิน ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ภาคตะวันออกซึ่งนอกจากจะเป็นภูมิภาคที่เหมาะแก่การติดตั้งโซล่าร์เซลล์ในโรงงานของคุณในอนาคตแล้ว ยังเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญระหว่างกรุงเทพมหานครและโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) มีเส้นทางคมนาคมก็สะดวกสบาย สามารถขนส่งได้หลากหลายช่องทางอีกด้วย
สนใจดูรายละเอียดโครงการ โรงงานขนาดเล็ก, คลังสินค้า, โกดังพร้อมที่ดินทั้งหมดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: www.primeestate.co.th
โทร : 063 663 6663
Facebook Inbox : m.me/PrimeEstateSME
Line: line.me/R/ti/p/@primeestate
Email : Sales@primeestate.co.th