ความน่าสนใจของการลงทุน โรงงานขนาดเล็ก เพื่อผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต

ทำไม? นักลงทุนต่างประเทศจึงเลือก โรงงานขนาดเล็ก และใหญ่ในประเทศไทยเป็นฐานผลิตผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

 ความน่าสนใจของการลงทุน โรงงานขนาดเล็ก

 

รู้หรือไม่? ว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั้น ถือว่าเป็นเสาหลักสำคัญในภาคการส่งออกของประเทศไทยโดย โรงงานขนาดเล็ก และใหญ่ที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDDs) รายใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 30 ของตลาดโลก นอกจากนั้น ประเทศไทยของเรายังมีแรงงานกว่า 753,000 คนในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความรู้และประสบการณ์ที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตและเป็นฐานการผลิตในการส่งออกที่แข็งแกร่ง ฉะนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยเป็นที่ยอมรับและอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก

   

ขอบคุณภาพจาก www.krungsri.com

จากภาพแสดงให้เห็นว่าไทยเป็นฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่อันดับ 13 ของโลก (ข้อมูลปี 2562) โดยมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1.8% โดยประเทศที่ครองส่วนแบ่งการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์สูงสุดในตลาดโลก คือ จีน (สัดส่วน 24.7%) และฮ่องกง (13.8%) รองลงมาได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา

โรงงานขนาดเล็กและใหญ่ที่เป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย มีอะไรบ้าง?

ความจริงแล้ว ประเทศไทยนั้นมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยก็มีนโยบายที่ส่งเสริมการลงทุนผ่านการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ทั้งทางด้านภาษีและไม่ใช่ภาษีเพื่อดึงดูนักลงทุนชาวต่างชาติ ประกอบกับศักยภาพในการผลิตและแรงงานของไทยที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญมากขึ้นเรื่อยๆ นักลงทุนชาวต่างชาติจึงทยอยเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ที่ประเทศไทยกันมากขึ้น ซึ่งในปี 2566 ไตรมาสแรกนั้น มีมูลค่าการส่งออกเติบโตต่อเนื่องที่ 5.9%YOY โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการที่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำคัญ อาทิ เซมิคอนดักเตอร์และแผงวงจรพิมพ์ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตสอดคล้องไปกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า นั่นเอง โดยประเภทของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ประเทศไทยผลิตเพื่อส่งออกได้ มีดังนี้

  1. แผงวงจรไฟฟ้า (Integrated Circuit: IC) : ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอุตสาหกรรม IC เป็นอันดับที่ 14 ของโลก (ข้อมูลปี 2562) โรงงานขนาดเล็ก หรือใหญ่ที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนแผงวงจรไฟฟ้า จึงมีทิศทางการเติบโตตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและการลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ Smartphones และ Notebooks โดยตั้งแต่ปี 2564-2566 การผลิต IC มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นอยู่ที่ 6.0-7.0% ซึ่งมาจากยอดจำหน่ายเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาวะของการ Lockdown จากการระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก ทำให้ประชาชนต้องทำงานและเรียนที่บ้าน จึงทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ PCs Notebooks Tablets Games consoles และ Smartphones เติบโตมากขึ้น

    นอกจากนั้น ก็ยังมีปัจจัยของการพัฒนาเทคโนโลยีในรถยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์อัตโนมัติ ที่ต้องใช้ระบบซอฟต์แวร์มากขึ้น ทำให้มีความต้องการ IC ในรถยนต์มากขึ้น มากถึง 150 ประเภท จากรถยนต์ทั่วไปที่ใช้ IC อย่างน้อย 40 ประเภท และการพัฒนาของระบบสื่อสารโทรคมนาคม 5G ซึ่งจะรองรับเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ได้มากยิ่งขึ้น ก็จะส่งผลให้ความต้องการใช้สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ IC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้ ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้ผลิตที่เป็น โรงงานขนาดเล็ก และใหญ่ที่เป็นผู้ผลิต IC

  2. แผ่นวงจรพิมพ์ (Print Circuit Board: PCB) : หรือที่นักอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปนิยมเรียกกันว่าแผ่นปริ๊นท์ แผ่นวงจรพิมพ์ทั่วไปชั้นฉนวนจะทำมาจากพลาสติก (Plastic), ใยแก้ว (Fiberglass) หรือยางสังเคราะห์ (Resin Composites) และชั้นตัวนำใช้เทรซด้วยทองแดง (Copper Traces) เพื่อเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะใช้เป็นที่สำหรับยึดชิ้นส่วนและเป็นทางเดินสัญญาณไฟฟ้าของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่อยู่บนวงจร และจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อกันและสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องตามที่ได้ออกแบบไว้ มีมูลค่าการส่งออกคิดเป็น 19.6%

  3. ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drive: HDD) : ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออก HDD อันดับ 2 ของโลก คิดเป็นสัดส่วน 29.3% ของมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด รองจากจีนซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดโลก 26.5% (ข้อมูลปี 2563) แม้ในปัจจุบันจะมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องที่ -13.1%YOY ด้วยสาเหตุมากจากวามต้องการ HDD ที่ลดลงและจากการถูก Disrupt ของการใช้ Solid State Drive (SSD) ในการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น

  4. ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) และคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบอื่นๆ : ทิศทางในปัจจุบันของ โรงงานขนาดเล็ก และใหญ่ที่เป็นผู้ผลิต Floppy Disk และคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบอื่นๆ มีการหดตัวอยู่ที่ -1.9%YOY มีมูลค่าส่งออกประมาณ 21.9% มากจากความต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ที่เริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัวสำหรับ Cycle ของการซื้อรอบนี้ และกำลังซื้อ ของผู้บริโภคในตลาดโลกที่เริ่มชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก

  5. มอเตอร์ไฟฟ้า สายไฟและสายเคเบิล : อุตสาหกรรมการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า สายไฟและสายเคเบิล ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมวัตถุดิบเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งทองแดงที่ใช้สำหรับลวดและสายเคเบิลคิดเป็นประมาณ 60-70% ของการใช้ทองแดงทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่สูงมากทำให้ผู้ประกอบการโรงงานขนาดเล็ก และใหญ่ที่เป็นผู้ผลิตสายไฟและเคเบิลกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านต้นทุนอยู่ในขณะนี้ แต่อนาคตอันใกล้นี้ทิศทางของอุตสาหกรรมประเภทนี้จะเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากการเติบโตของการการขนส่งทางรถไฟ, การบินและพลังงานไฟฟ้า (พลังงานใหม่, สมาร์ทกริด) ที่เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของเราเพิ่มมากขึ้น นั่นเอง

ความน่าสนใจของการลงทุนทำโรงงานขนาดเล็ก เพื่อผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต มีอะไรบ้าง?

“นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นับเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของโลก และในประเทศไทยเอง ที่ BOI ก็ให้เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย เนื่องจากมีความเชื่อมโยงและเป็นฐานการพัฒนาที่สำคัญของอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ ดิจิทัล อุปกรณ์การแพทย์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ฯลฯ

นอกจากนั้น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานในการต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ที่เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่สามารถตรวจจับและรับข้อมูลได้เป็นองค์ประกอบหลัก, สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์หรือเครื่องมือ หรือโครงข่ายผ่านระบบไร้สาย และมี มีระบบปฏิบัติการหรือประมวลผลฝังตัวอยู่ในอุปกรณ์หรือเครื่องมือนั้นๆ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของพื้นที่ EEC ในกลุ่ม First S-Curve ที่มุ่งเน้นขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยให้สามารถเติบโตสอดคล้องไปกับความต้องการของตลาดในโลกยุคดิจิตอลได้

และทิศทางที่เราคิดว่าน่าสนใจมากที่สุดก็คือ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแหล่งรองรับการลงทุนที่มีความโดดเด่น ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ระบบไฟฟ้ามีความเสถียร พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมีความพร้อมรองรับการลงทุนได้อีกมาก บุคลากรมีทักษะและความเชี่ยวชาญในด้านอิเล็กทรอนิกส์ ซัพพลายเชนครบวงจร และภาครัฐมีมาตรการสนับสนุนที่แข่งขันได้ จึงมีผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากจากทั่วโลก โดยเฉพาะจากไต้หวัน ตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตหลักเพื่อส่งออกไปยังตลาดโลก ซึ่งการลงทุนจากไต้หวันส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ผลิตแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Board: PCB) คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่นำระบบเซ็นเซอร์ Internet of Things (IoT) หรือระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) มาใช้ เช่น ลำโพงอัจฉริยะ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ (Wearable Device) ฯลฯ ที่นับว่านี่คือโอกาสสำคัญของกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง โรงงานขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

หากคุณคือผู้ประอบการในกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกำลังคิดจะขยายฐานการผลิตแห่งใหม่ให้สอดรับกับโอกาสทองของอุตสาหกรรมประเภทนี้ โครงการ ไพร์ม เอสเตท เรา ขายโรงงานขนาดเล็ก พร้อมโซลูชั่นมากมายให้คุณเลือกเพื่อความเหมาะสมของธุรกิจคุณ อีกทั้งยังตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมที่สะดวกสบาย สามารถขนส่งได้หลากหลายช่องทาง อีกทั้งยังอยู่บนพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญระหว่างกรุงเทพมหานครและโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) สามารถขนส่งได้หลากหลายช่องทาง เพื่อตอบโจทย์การเติบโตของธุรกิจผลิตยานยนต์ทั้งการนำเข้าและส่งออกได้เป็นอย่างดี

 

สนใจดูรายละเอียดโครงการ โรงงานขนาดเล็ก, คลังสินค้า, โกดังพร้อมที่ดินทั้งหมดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: www.primeestate.co.th
โทร : 063 663 6663
Facebook Inbox : m.me/PrimeEstateSME
Line: line.me/R/ti/p/@primeestate
Email : Sales@primeestate.co.th