SMEs ต้องรู้ พ.ร.บ. โรงงาน ศึกษาก่อนทำสัญญาซื้อ-ขายโรงงานขนาดเล็ก
อัพเดท พ.ร.บ. โรงงาน ฉบับล่าสุดก่อนทำสัญญาซื้อ-ขายโรงงานขนาดเล็ก
เมื่อผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ต่างๆ ต้องการขยายฐานการผลิต รวมถึงจะต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การมองหาแหล่งซื้อ-ขายโรงงานขนาดเล็ก หรือซื้อ-ขายคลังสินค้า จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในช่วงที่ถือว่าเป็นขาขึ้นของธุรกิจที่เป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพราะจากการคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5-3.5 เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยห่วงโซ่อุปทานสามารถกลับมาดำเนินได้ตามปกติ และปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบประกอบการผลิตคลี่คลายลง จะส่งผลให้ภาคการผลิตกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ ประกอบกับการบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวตามการท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติเริ่มมีการทยอยเข้ามาลงทุนภายในประเทศ (ที่มา : mreport.co.th)
ประกอบกับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีช่องทางการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายช่องทาง บางคนประสบความสำเร็จจนสามารถซื้อ ขายโรงงานขนาดเล็ก หรือซื้อ ขายคลังสินค้า เป็นของตัวเองได้เลย แต่การจะคิดทำการใหญ่… การหาข้อมูลสำคัญก่อนการตัดสินใจซื้อขายโรงงานหรือคลังสินค้า สิ่งสำคัญที่คุณควรจะทราบมากที่สุดก็คือ พ.ร.บ. โรงงาน เพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ ยิ่งถ้าหากคุณตัดสินใจซื้อโรงงานหรือคลังสินค้าที่ก่อสร้างสำเร็จแล้ว ก็จะช่วยให้คุณทราบได้ด้วยว่าแหล่งที่คุณต้องการจะซื้อนั้นมีจุดไหนหรือสิ่งไหนที่ผิดกฎหมายของ พ.ร.บ. โรงงานหรือไม่ด้วยนั่นเอง
ฉะนั้นในบทความนี้ primeestate จึงนำ พ.ร.บ. โรงงานฉบับล่าสุดในปีพ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 เพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 1) และฉบับล่าสุดที่ปรับแก้ไขแล้วในปีพ.ศ. 2562 (ฉบับที่ 2และ3) ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการประกอบกิจการโรงงานและเพื่อถ่ายโอนภารกิจบางส่วนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
พ.ร.บ. โรงงาน ที่คุณต้องรู้ก่อนก่อนทำสัญญาซื้อขายโรงงานขนาดเล็ก และคลังสินค้า มีดังนี้
- พระราชบัญญัตินี้จะไม่ใช้บังคับแก่โรงงานของทางราชการ : เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ นอกจากนั้นยังเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีสามารถออกประกาศกำหนดให้โรงงานบางประเภทได้รับยกเว้นจากการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานบางส่วนได้ ดังต่อไปนี้
- โรงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิจัย
- โรงงานของสถาบันการศึกษาในส่วนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกอบรม
- โรงงานที่ดำเนินงานอันมีลักษณะเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว
- โรงงานที่ดำเนินงานอันมีลักษณะที่จำเป็นและเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่มิใช่โรงงานตามพระราชบัญญัตินี้และตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
- โรงงานของทางราชการ
- บทนิยาม “โรงงาน” ให้หมายความถึง อาคาร สถานที่หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร มีกำลังรวมหรือเทียบเท่าตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป : ไม่ว่าคุณจะซื้อ ขายโรงงานขนาดเล็ก หรือใหญ่หากมีเครื่องจักรขนาด 50 ขึ้นไปหรือใช้คนงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม นั่นถือว่าเป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน (จากบทนิยามใน พ.ร.บ. โรงงานฉบับเดิมของปี พ.ศ. 2535 คือ เครื่องจักร 5 แรงม้าขึ้นไป และแรงงานคน 7 คนขึ้นไป)
- บทนิยาม “ตั้งโรงงาน” ให้หมายความถึงการนำเครื่องจักรมาติดตั้งในอาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่จะประกอบกิจการโรงงาน : รวมถึงการนำคนงานมาประกอบกิจการโรงงานในกรณีที่ไม่มีการใช้เครื่องจักรด้วย ซึ่งฉบับเก่าบทนิยมของการตั้งโรงงานนั้น จะต้องมีการก่อสร้างอาคาร และไม่ครอบคลุมถึงการนำคนงานมาประกอบกิจการโรงงานในกรณีที่ไม่มีการใช้เครื่องจักร
- โรงงานจำพวกที่ 2 จะต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ (ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้) ทราบก่อน : ไม่ว่าจะคุณจะซื้อ ขายโรงงานขนาดเล็กเล็ก หรือซื้อ ขายคลังสินค้า โรงงานจำพวกที่ 2 ในมาตรา 7 คือโรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า ซึ่งเดิมเป็นจำพวกที่จะต้องแจ้งให้ผู้อนุญาต คือปลัดกระทรวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทราบก่อน แก้ไขเป็นผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้ตรวจสอบเอกชน จะต้องได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองจากผู้อนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน : เพื่อเข้ามาตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรแทนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ โดยผู้ตรวจสอบเอกชนจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร หรือใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจะต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านสิ่งแวดล้อม, ด้านความปลอดภัย, ด้านสารเคมี, ด้านไฟฟ้า, ด้านพลังงาน, ด้านเครื่องกล, ด้านโยธาหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมด้านหนึ่งด้านใดก็ได้ มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองนี้ให้มีอายุถึงวันสิ้นปีปฏิทินแห่งปีที่ 3 นับแต่วันที่ออกใบอนุญาตฯ
- ยกเลิกอายุใบอนุญาตและขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 : ซึ่งเดิมกำหนดให้ใช้ได้จนถึงวันสิ้นปีปฏิทินแห่งปีที่ 5 และยกเลิกเรื่องการขอต่ออายุใบอนุญาต ในกรณีโรงงานที่ภายหลังมีกำลังรวมของเครื่องจักรลดลงหรือจำนวนคนงานลดลงจนไม่เข้าข่ายโรงงานตามบทนิยาม ให้ถือว่ายังเป็นโรงงานตามพระราชบัญญัตินี้อยู่จนกว่าจะได้แจ้งเลิกประกอบกิจการโรงงาน
- กำหนดหลักเกณฑ์การขยายโรงงานบางกรณีที่ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต : ใน พ.ร.บ ฉบับนี้ระบุว่า การเพิ่ม, เปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรซึ่งกระทำบนที่ดินแปลงใหม่ที่ติดกับที่ดินที่ตั้งโรงงานเดิม หรือที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ขยายโรงงานไว้เดิม หรือการขยายโรงงานบางกรณี เช่น การจัดให้มีหรือเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดมลพิษ, ให้มีมาตรการป้องกันหรือลดเหตุเดือดร้อนรำคาญ, เพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรต้นกำลัง หรือเพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลง หรือเพื่อประสิทธิภาพด้านพลังงาน ได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตใหม่อีกครั้ง
- ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องมีการรับรองตนเอง หรือ Self-Declared : ไม่ว่าคุณจะต้องซื้อ ขายโรงงานขนาดเล็ก หรือซื้อ ขายคลังสินค้า ใน พ.ร.บ ฉบับล่าสุดปี 2562 นี้ กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องมีการรับรองตนเอง หรือ Self-declared ว่าได้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องตามระยะเวลาที่กำหนด
- ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรที่ไม่ถึงขั้นขยายโรงงาน หรือการเพิ่มเนื้อที่อาคารโรงงาน : โดยในกรณีการเพิ่มเนื้อที่อาคารโรงงาน แก้ไขหลักเกณฑ์เป็นตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป ในกรณีเนื้อที่โรงงานไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรือตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไปในกรณีเนื้อที่โรงงานเกิน 2,000 ตารางเมตร และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพิ่มเติม กรณีเหล่านี้ ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการดำเนินการดังกล่าว
โดย พ.ร.บ. โรงงานฉบับใหม่ปี 2562 นี้ มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562 แต่จะไม่รวมถึงผู้ประกอบการโรงงานที่ได้รับใบอนุญาตไว้ก่อนแล้ว ซึ่งสามารถใช้ใบอนุญาตเดิมต่อไปได้ และเมื่อคุณทราบรายละเอียดดังที่กล่าวไปทั้งหมดนี้แล้ว ลองพิจารณารายละเอียดของโรงงานหรือคลังสินค้าที่กำลังจะทำสัญญาซื้อ ขายโรงงานขนาดเล็ก หรือซื้อ ขายคลังสินค้า ว่ามีข้อใดจะต้องรีบปรับแก้ไขและดำเนินการส่วนใดบ้างกับทางราชการ หรือจะต้องขอเอกสารรับรองอะไรบ้างจากเจ้าของเดิมหรือบริษัทที่เป็นนายหน้าขายโรงงานและคลังสินค้าให้กับคุณ เพื่อลดการเกิดปัญหายุ่งยากตามมาในภายหลัง นั่นเอง
ที่โครงการ ไพร์ม เอสเตท เรามีบริการ ขายโรงงานขนาดเล็ก, ขายคลังสินค้า หรือขายโกดังพร้อมที่ดิน ใกล้เส้นทางคมนาคมก็สะดวกสบาย สามารถขนส่งได้หลากหลายช่องทาง เพราะตั้งอยู่บนพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญระหว่างกรุงเทพมหานครและโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) พร้อมโซลูชั่นมากมายให้คุณเลือกเพื่อความเหมาะสมของธุรกิจคุณ โดยเรามีเจ้าหน้าที่ให้คอยให้ข้อมูลและคำปรึกษาทางกฎหมายกับคุณก่อนการตัดสินใจซื้ออย่างละเอียดและเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจขยายธุรกิจของคุณในครั้งนี้ได้อย่างราบรื่นมากที่สุด
สนใจดูรายละเอียดโครงการ โรงงานขนาดเล็ก, คลังสินค้า, โกดังพร้อมที่ดินทั้งหมดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: www.primeestate.co.th
โทร : 063 663 6663
Facebook Inbox : m.me/PrimeEstateSME
Line: line.me/R/ti/p/@primeestate
Email : Sales@primeestate.co.th